Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • ค้าปลีก แนะรัฐ เร่งจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รีบจัดสรรงบประมาณ และส่งเสริมท่องเที่ยว ฟื้นกำลังซื้อ

ค้าปลีก แนะรัฐ เร่งจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รีบจัดสรรงบประมาณ และส่งเสริมท่องเที่ยว ฟื้นกำลังซื้อ

นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ขอเสนอแนะรัฐบาลใหม่ให้จัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วและราบรื่น เพื่อให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อ และจัดสรรงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นไปแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ไม่ซับซ้อน โดยเพิ่มกำลังซื้อให้กลุ่มฐานรากและเพิ่มการใช้จ่ายในกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง รวมทั้ง ลดขั้นตอนให้สามารถเข้าถึงได้สะดวก และส่งเสริมภาคท่องเที่ยวในประเทศเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติและคนไทยท่องเที่ยวเมืองไทย เช่น การขยายเวลาวีซ่าขาเข้าให้ต่างชาติพำนักในไทยได้นานขึ้น, การเพิ่มความถี่เที่ยวบินมาไทย และสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยเมื่อมาเที่ยวเมืองไทย เป็นต้น

“ภาพรวมค้าปลีกครึ่งปีแรกยังไม่สดใสเท่าที่ควร เนื่องจากภาคธุรกิจยังเผชิญกับต้นทุนสูงจากทั้งค่าพลังงาน ค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังอ่อนแอ สมาคมฯ จึงขอส่งสัญญาณถึงรัฐบาลใหม่ชุดใหม่ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาบริหารประเทศออกนโนบายและมาตรการทางเศรษฐกิจที่จะมาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการและกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคให้กลับมาคึกคัก โดยสมาคมฯ มีความพร้อมและมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างมีเอกภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงเข้มแข็ง” 

ขณะที่ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกทั่วประเทศประจำไตรมาส 2 พบว่า มีความน่ากังวลเนื่องจากปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ระดับ 50 จุดทุกองค์ประกอบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน จากปัจจัยลบรุมเร้ารอบด้านทั้งความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล ค่าครองชีพ หนี้ครัวเรือนสูง เศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐเดิมหมดลง ภาครัฐชะลอการเบิกจ่ายเพื่อรอรัฐบาลใหม่ และอยู่ในช่วงโลว์ซีซั่นการท่องเที่ยว ซึ่งหากจำแนกตามประเภทร้านค้า พบว่าความเชื่อมั่นในปัจจุบันปรับลดลงในทุกประเภทร้านค้าโดยร้านค้าส่ง, ไฮเปอร์มาร์เกตยังคงไม่ฟื้นตัว ยกเว้นซูเปอร์มาร์เกตและร้านสะดวกซื้อ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นรวมทั้งสินค้าที่มีการจัดโปรโมชั่น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้ จากการสำรวจการปรับตัวของธุรกิจในกรณีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ พบว่า 63% จะจ้างพนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้น, 61% เพิ่มทักษะและหน้าที่ของพนักงาน, 59% ลดต้นทุนที่ไม่ใช่ค่าแรง, 48% ขึ้นราคาสินค้า, 22% ชะลอการลงทุน และใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน, 15% ปรับสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้าง และ 13% เลิกจ้างพนักงานบางส่วน

ด้านมาตรการสำหรับผู้ประกอบการในกรณีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น 78% สนับสนุนมาตรการทางภาษี เช่น ลดภาษีนิติบุคคล หรือนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น, 63% ทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นขั้นบันได

และ 59% ลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ส่วนคาดการณ์การปรับราคาสินค้าใน 3 เดือนข้างหน้าผู้ประกอบการ 48% จะปรับราคาสินค้าแต่ไม่เกิน 5%, ผู้ประกอบการ 22% จะยังไม่ปรับราคาสินค้า, 17% จะปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 6-10% และผู้ประกอบการ 9% จะปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 11-15%คำพูดจาก เล่นเกมสล็อต